ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)
ภาคตะวันออก
เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง
อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก
นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม
ผลไม้ และอัญมณีของประเทศ
อาณาเขตติดต่อ
- พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขอบเขตจรดภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรดภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทิศตะวันออก จรดประเทศกัมพูชา
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
อาณาเขตติดต่อ
- พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขอบเขตจรดภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรดภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทิศตะวันออก จรดประเทศกัมพูชา
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
แผนที่ภาคตะวันออก ประเทศไทย |
การแบ่งเขตการปกครอง
การแบ่งจังหวัดเป็นภูมิภาคด้วยระบบ 6 ภาค เป็นการแบ่งที่เป็นทางการโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสภา โดยภาคตะวันออกของระบบ 6 ภาคนี้ ประกอบไปด้วยเขตการปกครอง 7 จังหวัด ดังตารางข้างล่าง นอกจากนี้ ยังมีการจัดแบ่งภูมิภาคตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดให้ภาคตะวันออกมีทั้งหมด 9 จังหวัด ประกอบด้วย 7 จังหวัดข้างต้น รวมกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อจังหวัด
อักษรไทย |
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน |
จำนวนประชากร
(คน) |
พื้นที่
(ตร.กม.) |
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.) |
จันทบุรี
|
Chanthaburi
|
534,459
|
6,338.0
|
84.32
|
ฉะเชิงเทรา
|
Chachoengsao
|
709,889
|
5,351.0
|
132.66
|
ชลบุรี
|
Chonburi
|
1,509,125
|
4,363.0
|
345.89
|
ตราด
|
Trat
|
229,649
|
2,819.0
|
81.46
|
ปราจีนบุรี
|
Prachinburi
|
487,544
|
4,762.4
|
102.37
|
ระยอง
|
Rayong
|
711,236
|
3,552.0
|
200.23
|
สระแก้ว
|
Sakaeo
|
561,938
|
7,195.4
|
78.09
|
แผนที่การแบ่งเขตการปกครองภาคตะวันออก |
ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล
– เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา
– เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี
– เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน
ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล
– เขตภูเขา ได้แก่ ทิวเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ และทิวเขาบรรทัด วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มียอดเขาสูงสุดคือ เขาตะแบงใหญ่ เป็นภูเขาที่กั้นพรมแดนไทยกับกัมพูชา
– เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอยู่ทางตอนเหนือของภาค อยู่ระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี
– เขตที่ราบชายฝั่งทะเล ตั้งแต่เทือกเขาจันทบุรีไปจนถึงอ่าวไทยเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ ที่มีภูมิประเทศสวยงาม และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน
ภาคตะวันออกมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาที่จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด มีสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่จังหวัดจันทบุรี และตราดเป็นพรมแดนธรรมชาติ และมีพรมแดนเรขาคณิต คือ พรมแดนที่กำหนดขึ้นเป็นเส้นตรงลากเชื่อมจุดต่าง ๆ เรียกพื้นที่นี้ว่าฉนวนไทย
คือ พรมแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีต่อกับที่ราบต่ำเขมร มักจะมีปัญหาเรื่องการล่วงล้ำดินแดนอยู่เสมอ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระแก้วในปัจจุบัน
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออก |
แม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก
1. แม่น้ำบางปะกง หรือแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดอยู่ที่เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา
2. แม่น้ำระยอง มีต้นกำเนิดที่จังหวัดชลบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดระยอง
3. แม่น้ำเวฬุ มีต้นกำเนิดที่เทือกเขาจันทบุรี และไหลลงทะเลที่จังหวัดจันทบุรี
4. แม่น้ำจันทบุรี
แม่น้ำสายสำคัญภาคตะวันออก |
ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 515 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศที่สวยงาม เช่น
– อ่าว ได้แก่ อ่าวอุดม อ่าวสัตหีบ อ่าวระยอง
-แหลม ได้แก่ แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด
– เกาะ ได้แก่ เกาะช้างที่จังหวัดตราด เกาะกูดที่จังหวัดตราด เกาะสีชังที่จังหวัดชลบุรี เกาะเสม็ดที่จังหวัดระยอง
ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 515 กิโลเมตร มีลักษณะภูมิประเทศที่สวยงาม เช่น
– อ่าว ได้แก่ อ่าวอุดม อ่าวสัตหีบ อ่าวระยอง
-แหลม ได้แก่ แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี แหลมสารพัดพิษ จังหวัดตราด
– เกาะ ได้แก่ เกาะช้างที่จังหวัดตราด เกาะกูดที่จังหวัดตราด เกาะสีชังที่จังหวัดชลบุรี เกาะเสม็ดที่จังหวัดระยอง
ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออก
ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกคล้ายคลึงกับภาคใต้ คือ
-ทางตอนบนของภาคจากปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทราจะมีลักษณะอากาศแบบสะวันนา (Aw)
-ส่วนทางตอนล่างคือจันทบุรีและตราด จะมีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้นแบบมรสุม (Am) คือ มีฝนตกชุก อากาศร้อนชื้นจังหวัดที่มีปริมาณฝนมากที่สุดคือ ตราด และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ ชลบุรี
ปัจจัยที่ควบคุมอุณหภูมิของภาคตะวันออก
1. ลมพายุ ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ทำให้เกิดฝนตกหนัก
2. ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากอ่าวไทย ทำให้เกิดฝนตกในภาคนี้
ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยมีผลต่อภาคตะวันออกมากนัก เนื่องจากมีทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรักเป็นแนวกั้นไว้ อากาศจึงไม่ค่อยหนาวเย็น
3. การวางตัวของแนวเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัดจะกั้นทิศทางของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกชุกในเขตจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
4. ระยะใกล้ไกลทะเล ทางตอนบนของภาคอยู่ห่างจากทะเลมีผลทำให้อากาศร้อน อุณหภูมิสูง ส่วนทางตอนล่างของภาคจะได้รับลมทะเลทำให้อากาศเย็นสบาย
ทรัพยากรธรรมชาติของภาคตะวันออก
1. ทรัพยากรดินดินส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเป็นดินปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่อุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีน้ำทะเลท่วมถึงจะเป็นดินโคลนหรือดินเหนียว ส่วนดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินบะซอลต์ หินปูนในบริเวณที่สูงเหมาะแก่การปลูกพืชสวน เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด เป็นต้น ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมีดินอัลลูเวียนที่เหมาะใช้ทำนา
2. ทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกมีฝนตกชุกยาวนานและมีแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีการขาดแคลนน้ำจืดในเขตอุตสาหกรรมและแหล่งท่องเที่ยว เช่น จังหวัดชลบุรี
3. ทรัพยากรป่าไม้พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกจะเป็นป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าชายเลน และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนจังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ จังหวัดชลบุรี
4. ทรัพยากรแร่ธาตุภาคตะวันออกมีแร่หลายชนิด ได้แก่
– เหล็ก พบที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
– พลวง พบที่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี
– แร่รัตนชาติ เช่น คอรันตัม(พลอยสีน้ำเงิน,ไพลิน) บุษราคัม พบมากที่จังหวัดจันทบุรี และตราด ,ทับทิม พบที่จังหวัดตราด
– แร่เชื้อเพลิง พบที่บริเวณอ่าวไทย บริเวณมาบตาพุดจังหวัดระยอง
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
1. การเพาะปลูก ที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ จะทำนาส่วนใหญ่พืชผลที่สำคัญได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน เป็นต้น
2. การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด
3. การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มบริเวณชายฝั่งที่ติดทะเล เช่น ชลบุรี ระยอง ส่วนประมงน้ำจืดที่จังหวัดปราจีนบุรี
4. การทำเหมืองแร่ แร่รัตนชาติที่จังหวัดจันทบุรี และตราด
5. อุตสาหกรรม มีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล จัดเป็นนิคมอุตสาหกรรม เช่น
- แหลมฉบัง เป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมหนัก
- สัตหีบ เป็นอุตสาหกรรมการต่อเรือ ขนถ่ายสินค้าทางเรือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น