ตราประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา |
จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายกจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ
12 กิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดฉะเชิงเทราตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย
ประมาณละติจูดที่ 13° 30¢ เหนือ ลองจิจูด 101° 27¢
ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 5,351 ตารางกิโลเมตร มี
อาณาเขตติดต่อกับบริเวณใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี และทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ
จังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น
11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน
1.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
2.อำเภอบางคล้า
3.อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
4.อำเภอบางปะกง
5.อำเภอบ้านโพธิ์
6.อำเภอพนมสารคาม
7.อำเภอราชสาส์น
8.อำเภอสนามชัยเขต
9.อำเภอแปลงยาว
10.อำเภอท่าตะเกียบ
11.อำเภอคลองเขื่อน
ภูมิประเทศทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราประกอบไปด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มี
ความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเพราะเป็นพื้นที่ราบเรียบ ดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพื่อการชลประทานอย่าง
เพียงพอ เขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำจะครอบคลุมพื้นที่อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอราชสาส์น อำเภอคลองเขื่อน และบางส่วนของอำเภอแปลงยาว
และอำเภอพนมสารคาม ที่ราบลุ่มแม่น้้านี้เป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการค้าที่สำคัญของประเทศไทย
ส่วนเขตที่ ดอนหรือที่ราบลูกฟูกจะอยู่ในบริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกและทางเหนือที่ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี
ซึ่งได้แก่เขตอำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ และบางส่วนของอำเภอพนมสารคามและอำเภอแปลงยาว
พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการท้าไร่มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สับปะรด
และเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีเขต ที่ราบสูงและภูเขาเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมในเขตพื้นที่ของอำเภอสนามชัยเขต
อำเภอ พนมสารคาม อำเภอท่าตะเกียบ และบางส่วนของอำเภอแปลงยาว
ลักษณะอากาศทั่วไป
จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประเทศไทย 2
ชนิด คือ มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งลมนี้เป็นลมที่พัดพาความหนาวเย็นจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว
อิทธิพลของลมนี้จะท้าให้จังหวัดฉะเชิงเทราประสบกับสภาวะอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง
กับมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝนซึ่งท้าให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนทั่วไป
ฤดูกาล
พิจารณาตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย
สามารถแบ่งฤดูกาลของจังหวัดฉะเชิงเทราได้ เป็น 3 ฤดูดังนี้
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงของมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุม ประเทศไทยในช่วงนี้
ท้าให้จังหวัดฉะเชิงเทรามีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป
ฤดูร้อน
เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้จะมี หย่อมความกดอากาศต่ำาเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ท้าให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี
ฤดูฝน
เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัด เข้าสู่ประเทศไทย
อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นขึ้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยมีฝนตก หนาแน่นในช่วงเดือนกันยายน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น