ตราประจำจังหวัดตราด |
จังหวัดตราด
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดตราด
ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา
สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม
และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด
โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
ที่ตั้งอาณาเขต
จังหวัดตราด
เป็นจังหวัดสุดท้ายที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด(เส้นรุ้ง)ที่
11 องศา 34 ลิปดา กับละติจูดที่ 12
องศา 45 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูด(เส้นแวง)ที่
102 องศา 15 ลิบดา ถึง 102 องศา 55 ลิบดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 2,819
ตารางกิโลเมตร หรือ 1,761,875 ไร่
คิดเป็นเนื้อที่ประมาณร้อยละ 0.42 ของพื้นที่ประเทศ
และร้อยละ 7.72 ของภาคตะวันออก มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่ 56
ของประเทศ ตัวจังหวัดตราดอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)เป็นระยะทางประมาณ
385 กิโลเมตร หรือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 (สายบางนา-ชลบุรี-บ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด) เป็นระยะทางประมาณ 315
กิโลเมตร
จังหวัดตราดตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ
315 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,819 ตร.กม.
หรือประมาณ 1,761,875 ไร่ และเป็นพื้นที่ตามเขตปกครองทางทะเล
ประมาณ 7,257 ตร.กม.
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา
มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน
2.อำเภอคลองใหญ่
3.อำเภอเขาสมิง
4.อำเภอบ่อไร่
5.อำเภอแหลมงอบ
6.อำเภอเกาะกูด
7.อำเภอเกาะช้าง
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดตราด
เป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดยาว156 กิโลเมตรเป็นพรมแดนด้านตะวันออก
ด้านตะวันตกมีชายฝั่งทะเลยาว 156.5 กิโลเมตร มีเกาะ 52
เกาะ เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด (มีเนื้อที่ 650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีความยาวมากกว่าความกว้าง
ตอนบนและตอนกลางมีความยาวใกล้เคียงกัน
ตอนใต้มีลักษณะเรียวทอดยาวลงไป
จังหวัดตราดมีสัณฐานคล้ายหัวช้าง ส่วนกว้างที่สุดของจังหวัด จากตำบลแสนตุ้ง
อำเภอเขาสมิง ถึงแนวเทือกเขาบรรทัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราดเป็นระยะทาง 49 กิโลเมตรส่วนที่ยาวที่สุดจากทิศเหนือของตำบลหนองบอน
อำเภอบ่อไร่ ถึงตอนใต้สุดของตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ125
กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดวัดจากบ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก
อำเภอคลองใหญ่ จากฝั่งทะเลตะวันตกถึงแนวเทือกเขาบรรทัดมีระยะเพียง 500 เมตร
จังหวัดตราดมีภูมิประเทศคล้ายคลึงกับจังหวัดใกล้เคียง
เช่น จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นหรือลูกฟูก
และเนินเขาเตี้ยๆ ทางตอนบนของจังหวัดเป็นภูเขาและที่สูง ในตอนกลางมีที่ราบแคบ
ทางตอนบนบางแห่งและชายฝั่งทะเลตอนใต้ช่วง เทือกเขาบรรทัดติดกับจังหวัดจันทบุรี
เป็นเทือกเขาหินแกรนิตมีความแข็งแกร่ง
การคมนาคมขนส่ง
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออก และเป็นจังหวัดเล็กการคมนาคมส่วนใหญ่จึงใช้โดยทางถนนเท่านั้นถนนสายหลัก ที่ใช้ในการติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ คือ ถนนสุขุมวิท การใช้เส้นทางจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดตราด สามารถ ใช้เส้นทางได้สองเส้นทางคือ ถนนสุขุมวิท จากบางนา - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด เป็นถนนที่เลียบชายฝั่งทะเลมีระยะ ทาง 385 กิโลเมตร และเส้นทางสาย บางนา - บ้านบึง - แกลง - ตราด มีระยะทาง 315 กิโลเมตร
ในปีงบประมาณ 2544 จังหวัดตราด มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 7 แห่ง มีการให้บริการไปรษณีย์ภัณฑ์ธรรมดา
1,337,738 ชิ้น มีการให้บริการพิเศษ 251,940 ชิ้น พัสดุไปรษณีย์ 21,959 ชิ้น และโทรเลข 6,378 ฉบับ การโทรศัพท์
มีการติดตั้งโทรศัพท์แล้วจำนวน 20,225 เลขหมาย เลขหมาย ที่มีผู้เช่าจำนวน 15,460 เลขหมาย
จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออก และเป็นจังหวัดเล็กการคมนาคมส่วนใหญ่จึงใช้โดยทางถนนเท่านั้นถนนสายหลัก ที่ใช้ในการติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ คือ ถนนสุขุมวิท การใช้เส้นทางจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดตราด สามารถ ใช้เส้นทางได้สองเส้นทางคือ ถนนสุขุมวิท จากบางนา - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด เป็นถนนที่เลียบชายฝั่งทะเลมีระยะ ทาง 385 กิโลเมตร และเส้นทางสาย บางนา - บ้านบึง - แกลง - ตราด มีระยะทาง 315 กิโลเมตร
ในปีงบประมาณ 2544 จังหวัดตราด มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 7 แห่ง มีการให้บริการไปรษณีย์ภัณฑ์ธรรมดา
1,337,738 ชิ้น มีการให้บริการพิเศษ 251,940 ชิ้น พัสดุไปรษณีย์ 21,959 ชิ้น และโทรเลข 6,378 ฉบับ การโทรศัพท์
มีการติดตั้งโทรศัพท์แล้วจำนวน 20,225 เลขหมาย เลขหมาย ที่มีผู้เช่าจำนวน 15,460 เลขหมาย
สภาพเศรษฐกิจทั่วไป
ในปี 2542 จังหวัดตราดมีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด 14,803 ล้านบาท สาขาการผลิตที่สำคัญได้แก่สาขา
เกษตรกรรมมีมูลค่าร้อยละ 43.8 ของ มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด สาขาการค้าส่งและค้าปลีก มีมูลค่าร้อยละ 18.6 สาขาการ บริการ มีมูลค่าร้อยละ 12.3 สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่าร้อยละ 6.9 สาขาการคมนาคม และขนส่งมีมูลค่าร้อยละ 4.0 สาขา การธนาคาร ประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าร้อยละ2.4สาขาการก่อสร้าง มีมูลค่าร้อยละ 1.5 เป็นต้น
สำหรับการเพาะปลูกในปีเพาะปลูก 2543/44 จังหวัดตราดมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเจ้านาปี 43,305 ไร่ ได้ผลผลิต
ข้าวเจ้า 21,138 ตัน เนื้อที่ปลูกสับปะรด 35,819 ไร่ ได้ผลผลิต 107,788 ตัน เนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง 4,635 ไร่ ได้ผลผลิต มันสำปะหลัง 6,788 ตัน เนื้อที่ปลูกยางพารา 197,348 ไร่ ได้ผลผลิตยางพารา 39,043 ตัน เนื้อที่ปลูกเงาะ 71,845 ไร่ ได้ผลผลิตเงาะ 76,598 ตัน เนื้อที่ปลูกทุเรียน 41,955 ไร่ ได้ผลผลิตทุเรียน 42,659 ตัน เนื้อที่ปลูกมังคุด 18,836 ไร่ ได้ผล ผลิตมังคุด 10,207 ตัน จังหวัดตราดมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมด 532 แห่ง เงินลงทุน 1,219.28 ล้านบาท จำนวนคนงานทั้งสิ้น 3,830 คน
ในปี 2542 จังหวัดตราดมีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด 14,803 ล้านบาท สาขาการผลิตที่สำคัญได้แก่สาขา
เกษตรกรรมมีมูลค่าร้อยละ 43.8 ของ มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด สาขาการค้าส่งและค้าปลีก มีมูลค่าร้อยละ 18.6 สาขาการ บริการ มีมูลค่าร้อยละ 12.3 สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่าร้อยละ 6.9 สาขาการคมนาคม และขนส่งมีมูลค่าร้อยละ 4.0 สาขา การธนาคาร ประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าร้อยละ2.4สาขาการก่อสร้าง มีมูลค่าร้อยละ 1.5 เป็นต้น
สำหรับการเพาะปลูกในปีเพาะปลูก 2543/44 จังหวัดตราดมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเจ้านาปี 43,305 ไร่ ได้ผลผลิต
ข้าวเจ้า 21,138 ตัน เนื้อที่ปลูกสับปะรด 35,819 ไร่ ได้ผลผลิต 107,788 ตัน เนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง 4,635 ไร่ ได้ผลผลิต มันสำปะหลัง 6,788 ตัน เนื้อที่ปลูกยางพารา 197,348 ไร่ ได้ผลผลิตยางพารา 39,043 ตัน เนื้อที่ปลูกเงาะ 71,845 ไร่ ได้ผลผลิตเงาะ 76,598 ตัน เนื้อที่ปลูกทุเรียน 41,955 ไร่ ได้ผลผลิตทุเรียน 42,659 ตัน เนื้อที่ปลูกมังคุด 18,836 ไร่ ได้ผล ผลิตมังคุด 10,207 ตัน จังหวัดตราดมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมด 532 แห่ง เงินลงทุน 1,219.28 ล้านบาท จำนวนคนงานทั้งสิ้น 3,830 คน
วีดีโอท่องเที่ยวจังหวัดตราด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น