Translate

123456

สวัสดีครับกระผม นายไวยวิทย์ ปลูกชาลี 59010512076 ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่บล็อคของผมนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษานะครับ ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

จังหวัดตราด

ตราประจำจังหวัดตราด

จังหวัดตราด       
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดตราด
            ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
            ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด
ที่ตั้งอาณาเขต
            จังหวัดตราด เป็นจังหวัดสุดท้ายที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออก ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด(เส้นรุ้ง)ที่ 11 องศา 34 ลิปดา กับละติจูดที่ 12 องศา 45 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูด(เส้นแวง)ที่ 102 องศา 15 ลิบดา ถึง 102 องศา 55 ลิบดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 2,819 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,761,875 ไร่ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณร้อยละ 0.42 ของพื้นที่ประเทศ และร้อยละ 7.72 ของภาคตะวันออก มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่ 56 ของประเทศ ตัวจังหวัดตราดอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)เป็นระยะทางประมาณ 385 กิโลเมตร หรือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 (สายบางนา-ชลบุรี-บ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด) เป็นระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร
            จังหวัดตราดตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ 315 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,819 ตร.กม. หรือประมาณ 1,761,875 ไร่ และเป็นพื้นที่ตามเขตปกครองทางทะเล ประมาณ 7,257 ตร.กม. มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอ 38 ตำบล 261 หมู่บ้าน

1.อำเภอเมืองตราด
2.อำเภอคลองใหญ่
3.อำเภอเขาสมิง
4.อำเภอบ่อไร่
5.อำเภอแหลมงอบ
6.อำเภอเกาะกูด
7.อำเภอเกาะช้าง

ลักษณะภูมิประเทศ
            จังหวัดตราด เป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดยาว156 กิโลเมตรเป็นพรมแดนด้านตะวันออก ด้านตะวันตกมีชายฝั่งทะเลยาว 156.5 กิโลเมตร มีเกาะ 52 เกาะ เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด (มีเนื้อที่ 650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีความยาวมากกว่าความกว้าง ตอนบนและตอนกลางมีความยาวใกล้เคียงกัน
            ตอนใต้มีลักษณะเรียวทอดยาวลงไป จังหวัดตราดมีสัณฐานคล้ายหัวช้าง ส่วนกว้างที่สุดของจังหวัด จากตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง ถึงแนวเทือกเขาบรรทัด ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมืองตราดเป็นระยะทาง 49 กิโลเมตรส่วนที่ยาวที่สุดจากทิศเหนือของตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ ถึงตอนใต้สุดของตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ125 กิโลเมตร และส่วนที่แคบที่สุดวัดจากบ้านโขดทราย ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จากฝั่งทะเลตะวันตกถึงแนวเทือกเขาบรรทัดมีระยะเพียง 500 เมตร
            จังหวัดตราดมีภูมิประเทศคล้ายคลึงกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น จันทบุรี ระยอง ชลบุรี เป็นต้น พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นหรือลูกฟูก และเนินเขาเตี้ยๆ ทางตอนบนของจังหวัดเป็นภูเขาและที่สูง ในตอนกลางมีที่ราบแคบ ทางตอนบนบางแห่งและชายฝั่งทะเลตอนใต้ช่วง เทือกเขาบรรทัดติดกับจังหวัดจันทบุรี เป็นเทือกเขาหินแกรนิตมีความแข็งแกร่ง

การคมนาคมขนส่ง
            จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายแดนทางภาคตะวันออก และเป็นจังหวัดเล็กการคมนาคมส่วนใหญ่จึงใช้โดยทางถนนเท่านั้นถนนสายหลัก ที่ใช้ในการติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ คือ ถนนสุขุมวิท การใช้เส้นทางจากกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดตราด สามารถ ใช้เส้นทางได้สองเส้นทางคือ ถนนสุขุมวิท จากบางนา - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด เป็นถนนที่เลียบชายฝั่งทะเลมีระยะ ทาง 385 กิโลเมตร และเส้นทางสาย บางนา - บ้านบึง - แกลง - ตราด มีระยะทาง 315 กิโลเมตร
ในปีงบประมาณ 2544 จังหวัดตราด มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 7 แห่ง มีการให้บริการไปรษณีย์ภัณฑ์ธรรมดา
1,337,738 ชิ้น มีการให้บริการพิเศษ 251,940 ชิ้น พัสดุไปรษณีย์ 21,959 ชิ้น และโทรเลข 6,378 ฉบับ การโทรศัพท์
มีการติดตั้งโทรศัพท์แล้วจำนวน 20,225 เลขหมาย เลขหมาย ที่มีผู้เช่าจำนวน 15,460 เลขหมาย

สภาพเศรษฐกิจทั่วไป
ในปี 2542 จังหวัดตราดมีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด 14,803 ล้านบาท สาขาการผลิตที่สำคัญได้แก่สาขา
เกษตรกรรมมีมูลค่าร้อยละ 43.8 ของ มูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด สาขาการค้าส่งและค้าปลีก มีมูลค่าร้อยละ 18.6 สาขาการ บริการ มีมูลค่าร้อยละ 12.3 สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่าร้อยละ 6.9 สาขาการคมนาคม และขนส่งมีมูลค่าร้อยละ 4.0 สาขา การธนาคาร ประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าร้อยละ2.4สาขาการก่อสร้าง มีมูลค่าร้อยละ 1.5 เป็นต้น
สำหรับการเพาะปลูกในปีเพาะปลูก 2543/44 จังหวัดตราดมีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวเจ้านาปี 43,305 ไร่ ได้ผลผลิต
ข้าวเจ้า 21,138 ตัน เนื้อที่ปลูกสับปะรด 35,819 ไร่ ได้ผลผลิต 107,788 ตัน เนื้อที่ปลูกมันสำปะหลัง 4,635 ไร่ ได้ผลผลิต มันสำปะหลัง 6,788 ตัน เนื้อที่ปลูกยางพารา 197,348 ไร่ ได้ผลผลิตยางพารา 39,043 ตัน เนื้อที่ปลูกเงาะ 71,845 ไร่ ได้ผลผลิตเงาะ 76,598 ตัน เนื้อที่ปลูกทุเรียน 41,955 ไร่ ได้ผลผลิตทุเรียน 42,659 ตัน เนื้อที่ปลูกมังคุด 18,836 ไร่ ได้ผล ผลิตมังคุด 10,207 ตัน จังหวัดตราดมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหมด 532 แห่ง เงินลงทุน 1,219.28 ล้านบาท จำนวนคนงานทั้งสิ้น 3,830 คน




วีดีโอท่องเที่ยวจังหวัดตราด


จังหวัดจันทบุรี

ตราประจำจังหวัดจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรี
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดจันทบุรี
            จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 238 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ
ที่ตั้งและอาณาเขต
            จังหวัดจันทรบุรีเป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้ง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดโดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ
            จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติชอง จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงครามอานัมสยามยุทธในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและครั้งที่ 3 ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมหลายแห่ง
            จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12-13 องศาเหนือและเส้นแวงที่ 101 – 102 องศาตะวันออก อยู่ทางชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 245 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
ทางทิศเหนือ : ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทราและสระแก้ว
ทางทิศใต้ : ติดกับอ่าวไทย
ทางทิศตะวันออก : ติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา
ทางทิศตะวันตกติด : ติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี

ภูมิศาสตร์
            จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอยู่ห่างกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
            จังหวัดจันทบุรีมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ภูเขาและเนินสูง 2.ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา 3.ที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดจะเป็นเขตภูเขาสูง เช่น เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาจันทบุรี เป็นต้น บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย รวมถึงเป็นแนวที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว ในส่วนของที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขานั้นจะตั้งอยู่ในเขตอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน พื้นที่ตอนกลางของอำเภอขลุง รวมไปถึงทางตะวันออกของอำเภอมะขาม อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และทางตอนเหนือของอำเภอท่าใหม่ โดยบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น ในส่วนพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม เมืองจันทบุรีและขลุง รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอแก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏและอำเภอท่าใหม่ สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย บริเวณที่พบที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง

ลักษณะภูมิอากาศ
            สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาลคือฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม) ฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) และฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม) โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ
            จังหวัดจันทบุรีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23 - 31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี โดยที่อุณหภูมิในแต่ละฤดูของจังหวัดจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ใกล้กับทะเล สำหรับอุณหภูมิในแต่ละฤดูนั้น ฤดูฝนมีอุณหภูมิระหว่าง 24 - 30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22 - 31 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 23 - 33 องศาเซลเซียส

ทรัพยากรดินและน้ำ
            ทรัพยากรดินในจังหวัดจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรีดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก อย่างไรก็ตามจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร โดยปัญหาทรัพยากรดินที่พบมากที่สุดคือดินเค็มในบริเวณชายฝั่งทะเล ดินตื้นและดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
            ในส่วนของทรัพยากรน้ำในจังหวัดจันทบุรีนั้น แม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะอยู่ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกชุก แต่จันทบุรียังคงประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้งในพื้นที่ของจังหวัดเนื่องจากแม่น้ำทั้งหมดในจังหวัดเป็นเพียงแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำพังราด (30 กิโลเมตร) แม่น้ำวังโตนด (6 กิโลเมตร) แม่น้ำเวฬุ (88 กิโลเมตร)และแม่น้ำจันทบุรี (123 กิโลเมตร) เป็นต้น ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีปริมาณฝนในจังหวัดจันทบุรีมากเกินไป ปริมาณน้ำอาจจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญคือ เขื่อนคีรีธาร อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เขื่อนพลวงและเขื่อนทุ่งเพล

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
            จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคตะวันออก โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนพื้นที่ป่าไม้ทั้งภาค อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในอดีตจะพบว่าจังหวัดจันทบุรีสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเดิมทีจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัด โดยสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ การบุกรุกของราษฎรและการขาดการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่ ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว วนอุทยานแห่งชาติ 1 แห่งคือ วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย
            สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือสำรองและจัน ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว ชะมวง กฤษณา กระวานและเหลืองจันทบูรอันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (Microchirita purpurea) ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เป็นต้น
            สำหรับในส่วนของสัตว์ป่าในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 122 ชนิด นก 276 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานไม่น้อยกว่า 88 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 29 ชนิดและปลาน้ำจืดอีกกว่า 47 ชนิด จึงนับได้ว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างมาก ในจำนวนสัตว์เหล่านี้มีสัตว์ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กบอกหนาม นกกระทาดงจันทบุรี นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงินและนกสาลิกาเขียวหางสั้น เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ในบริเวณจังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สำคัญอีกชนิด คือ ปลาบู่มหิดล ที่มีการค้นพบในจังหวัดจันทบุรี แต่มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดระนองและจังหวัดภูเก็ตด้วย


วีดีโอท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี



จังหวัดสระแก้ว

ตราประจำจังหวัดสระแก้ว

จังหวัดสระแก้ว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดสระแก้ว
            สระแก้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย แยกออกมาจากจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยในปัจจุบันถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออก และเป็นอีกหนึ่งจังหวัดพรมแดนที่มีการติดต่อค้าขายเป็นอย่างมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
            สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกตอนบนของประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 15 ลิปดา ถึง 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ กับประมาณเส้นแวงที่ 101 องศา 45 ลิปดา ถึง 103 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
            ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
            ทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพูชา
            ทิศใต้ ติดกับจังหวัดจันทบุรี
            ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา
การเมืองการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น อำเภอ 58 ตำบล 731 หมู่บ้าน
1.อำเภอเมืองสระแก้ว
2.อำเภอคลองหาด
3.อำเภอตาพระยา
4.อำเภอวังน้ำเย็น
5.อำเภอวัฒนานคร
6.อำเภออรัญประเทศ
7.อำเภอเขาฉกรรจ์
8.อำเภอโคกสูง
9.อำเภอวังสมบูรณ์

ภูมิประเทศ
            สภาพทั่วไป พื้นที่จังหวัดสระแก้วโดยรวมเป็นพื้นที่ราบถึงที่ราบสูงและมีภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 74 เมตร โดยทางด้านทิศเหนือ มีทิวเขาบรรทัดซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง มีลักษณะเป็นป่าเขาทึบได้แก่ บริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทางด้านทิศใต้ มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีสภาพเป็นป่าโปร่ง ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้เกิดสภาพป่าเสื่อมโทรม ตอนกลางมีลักษณะเป็นที่ราบ ได้แก่ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อจังหวัดจันทบุรี ทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นที่ราบถึงที่ราบสูง และมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ทำไร่ ทำนา และทางด้านทิศตะวันออก นับตั้งแต่อำเภอวัฒนานคร มีลักษณะเป็นสันปันน้ำและพื้นที่ลาดไปทางอำเภอเมืองสระแก้วและอำเภออรัญประเทศ เข้าเขตประเทศกัมพูชา

ลำคลองสายสำคัญมีดังนี้
            คลองพระปรง มีต้นกำเนิดจากเขาในอำเภอวัฒนานคร แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำหนุมานในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลายเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี ความยาว 180 กิโลเมตร
            คลองพระสะทึง มีต้นกำเนิดจากเขาทึ่งลึ่งในอำเภอมะขาม และเขาตะกวดในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ไหลไปลงแม่น้ำพระปรงที่บ้านปากร่วม ตรงแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว กับอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ความยาว 164 กิโลเมตร
            คลองน้ำใส มีต้นกำเนิดจากเขาตาเลาะและเขาตาง็อกในอำเภอวัฒนานคร และภูเขาในประเทศกัมพูชา ความยาว 74 กิโลเมตร ใช้เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
            คลองพรมโหด มีต้นกำเนิดจากเขาในตำบลช่องกลุ่ม อำเภอวัฒนานคร ไหลไปลงคลองลึก อำเภออรัญประเทศ ที่หลักเขตแดนที่ 50 ความยาว 62 กิโลเมตร ถือเป็นแนวเขตอนุรักษ์ของไทยและกัมพูชา
            จังหวัดสระแก้วมีอุทยานแห่งชาติทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งทั้งคู่ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ภูมิอากาศ
            สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
            ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
            ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,296-1,539 มิลลิเมตร
            ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า
            อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 27.5-28.78 องศาเซลเซียส

การขนส่ง
สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก เป็นสถานีสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตประเทศกัมพูชา
            การขนส่งทางถนน จังหวัดสระแก้วมีถนนสำคัญหลายสาย ซึ่งเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ถนนสุวรรณศร เชื่อมต่อกับจังหวัดปราจีนบุรีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 เชื่อมต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 เชื่อมต่อกับจังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง โดยเส้นทางส่วนใหญ่จะผ่านอำเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่การค้าที่สำคัญ
            การขนส่งทางราง มีทางรถไฟสายตะวันออกพาดผ่าน โดยขบวนรถที่ให้บริการมีเฉพาะรถธรรมดาเท่านั้น เส้นทางสายนี้ไปเชื่อมต่อกับสายปอยเปตของกัมพูชาที่สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก โดยได้มีพิธีเปิดเดินรถระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562


วีดีโอท่องเที่ยวจังหวัดสระแก้ว





จังหวัดฉะเชิงเทรา


ตราประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา

จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
            จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครนายกจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงมีอาณาเขตติดกับอ่าวไทยเป็นระยะสั้นประมาณ 12 กิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
            จังหวัดฉะเชิงเทราตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย ประมาณละติจูดที่ 13° 30¢ เหนือ ลองจิจูด 101° 27¢ ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 5,351 ตารางกิโลเมตร มี
อาณาเขตติดต่อกับบริเวณใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี และทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ
หน่วยการปกครอง
            การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 93 ตำบล 859 หมู่บ้าน
1.อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
2.อำเภอบางคล้า
3.อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
4.อำเภอบางปะกง
5.อำเภอบ้านโพธิ์
6.อำเภอพนมสารคาม
7.อำเภอราชสาส์น
8.อำเภอสนามชัยเขต
9.อำเภอแปลงยาว
10.อำเภอท่าตะเกียบ
11.อำเภอคลองเขื่อน

ภูมิประเทศทั่วไป
            ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดฉะเชิงเทราประกอบไปด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มี ความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเพราะเป็นพื้นที่ราบเรียบ ดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพื่อการชลประทานอย่าง เพียงพอ เขตพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำจะครอบคลุมพื้นที่อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอราชสาส์น อำเภอคลองเขื่อน และบางส่วนของอำเภอแปลงยาว และอำเภอพนมสารคาม ที่ราบลุ่มแม่น้้านี้เป็นแหล่งผลิตข้าวเพื่อการค้าที่สำคัญของประเทศไทย ส่วนเขตที่ ดอนหรือที่ราบลูกฟูกจะอยู่ในบริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกและทางเหนือที่ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้แก่เขตอำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ และบางส่วนของอำเภอพนมสารคามและอำเภอแปลงยาว พื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการท้าไร่มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด สับปะรด และเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีเขต ที่ราบสูงและภูเขาเทือกเขาทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ครอบคลุมในเขตพื้นที่ของอำเภอสนามชัยเขต อำเภอ พนมสารคาม อำเภอท่าตะเกียบ และบางส่วนของอำเภอแปลงยาว

ลักษณะอากาศทั่วไป
            จังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมที่พัดปกคลุมประเทศไทย 2 ชนิด คือ มรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งลมนี้เป็นลมที่พัดพาความหนาวเย็นจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว อิทธิพลของลมนี้จะท้าให้จังหวัดฉะเชิงเทราประสบกับสภาวะอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ซึ่งพัดปกคลุมในช่วงฤดูฝนซึ่งท้าให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนทั่วไป
ฤดูกาล
พิจารณาตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทย สามารถแบ่งฤดูกาลของจังหวัดฉะเชิงเทราได้ เป็น 3 ฤดูดังนี้
            ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงของมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุม ประเทศไทยในช่วงนี้ ท้าให้จังหวัดฉะเชิงเทรามีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป
            ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์และสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ในระยะนี้จะมี หย่อมความกดอากาศต่ำาเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ท้าให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี
            ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัด เข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นขึ้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยมีฝนตก หนาแน่นในช่วงเดือนกันยายน

วีดีโอท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา