Translate

123456

สวัสดีครับกระผม นายไวยวิทย์ ปลูกชาลี 59010512076 ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่บล็อคของผมนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษานะครับ ขอบคุณครับ

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid)


ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) 



      ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) คือก้อนหินขนาดเล็กซึ่งรวมอยู่ด้วยกันจำนวนหลายพันก้อนในระบบสุริยะ  รายล้อมดวงอาทิตย์และโคจรรอบดวงอาทิตย์คล้ายดาวเคราะห์  อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี  เรียกบริเวณนี้ว่า “แถบดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Belt)”  ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 2.0 –3.3 au.  ดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ ดารเคราะห์น้อยซีเรส(Ceres)  มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร  ถ่ายภาพไว้ได้โดยยานอวกาศกาลิเลโอ(Galileo Space Probe) 

ดาวเคราะห์น้อยจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท  โดยพิจารณาจากการสะท้อนแสงอาทิตย์  คือ
1.     C-type Asteroid (Cabonaceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้น้อยมาก  มองดูมืดที่สุด  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน(ถ่านเป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 75%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
2.    S-type Asteroid (Silicaceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้ปานกลาง  มองดูเป็นสีเทา  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกา(Silica) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 15%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด
3.     M-type Asteroid (Metaliceous Asteroid)
เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้มากที่สุดมองดูสว่าง  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโลหะ(Metal)เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 10%ของเป็นดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด


ดวงจันทร์ (Moon)


ดวงจันทร์ (Moon)


ดวงจันทร์เป็นบริวารดวงเดียวของโลก


       ชาวโรมันเรียกว่า Luna ส่วนชาวกรีกเรียกว่า Selene หรือ Artemisดวงจันทร์เป็นที่รู้จักตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นวัตถุที่สว่างมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดวงอาทิตย์ เป็นที่หลงไหลของมนุษย์ชาติมาโดยตลอด เมื่อมองจากพื้นโลก จะเห็นส่วนซึ่งเป็นที่ราบสูงที่มีความสว่างและบริเวณที่ราบที่เมีความมืด Galileo และนักดาราศาสตร์เฝ้าสังเกตดวงจันทร์มาเป็นศตวรรษผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่สร้างขึ้นมา จนกระทั่งมาถึงยุคอวกาศที่มนุษย์สามารถไปเดินสำรวจบนดวงจันทร์ได้ ความรู้ที่ได้จากการสำรวจดวงจันทร์ทำให้เข้าใจถึงขบวนการทางธรณีวิทยาและความซับซ้อนของโลกเรา
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลา 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที มีระยะทางห่างจากโลก 384,403 กิโลเมตร ค่ามุมระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ จึงเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ปรากฏบนท้องฟ้าของดวงจันทร์ในแต่ละคืน
แรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆที่น่าสนใจมากมาย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดอันหนึ่งคือ น้ำขึ้นน้ำลง (tide) แรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่กระทำบนพื้นผิวโลกแต่ละแห่งมีขนาดไม่เท่ากัน บริเวณที่หันเข้าหาดวงจันทร์จะได้รับแรงดึงดูดมากกว่าด้านตรงข้าม แต่เนื่องจากโลกมีสภาพเป็นวัตถุที่ยืดหยุ่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทร ดังนั้นการยืดตัวจึงไม่เป็นเส้นตรงไปตามระนาบที่เชื่อมระหว่างโลกและดวงจันทร์ เมื่อศึกษาถึงลักษณะพื้นผิวของโลกจะพบว่า บริเวณที่นูนขึ้นมา 2 บริเวณ บริเวณหนึ่งเป็นด้านที่หันเข้าหาดวงจันทร์ อีกด้านหนึ่งเป็นด้านตรงข้าม และผลอันเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองที่เร็วกว่าการโคจรรอบโลก 1 รอบ ทำให้บริเวณที่นูนขึ้นจึงเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปได้ เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง 2 ครั้งต่อวัน


        แรงดึงดูดที่ไม่สมมาตรเป็นสาเหตุให้การหมุนของดวงจันทร์มีลักษณะเป็น synchronous จึงหันผิวด้านเดียวเข้าหาโลก
โดยความเป็นจริงการโคจรของดวงจันทร์ยังไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากวงโคจรไม่เป็นวงกลม ดังนั้นบางส่วนของดวงจันทร์ด้านที่อยู่ไกลก็อาจเห็นได้ในบางครั้งดวงจันทร์เคยเชื่อกันว่าไม่มีบรรยากาศ แต่จากหลักฐานการสำรวจในภายหลังแสดงให้เห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่ในส่วนลึกของหลุมอุกาบาตใกล้กับบริเวณขั้วใต้และบริเวณขั้วเหนือ
ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร ชั้นเปลือกของดวงจันทร์ มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 68 กิโลเมตร ในบางบริเวณอาจไม่พบชั้นเปลือกเลย หรือในบางบริเวณอาจมีชั้นเปลือกหนาถึง 107 กิโลเมตร ใต้ชั้นเปลือกเป็นส่วนของ mantle และ อาจมีแกนกลาง (core) อยู่ด้วย ส่วนที่เป็น mantle จะหลอมเพียงบางส่วนเท่านั้น
มีพื้นที่ราบ 2 แห่งที่อยู่บนดวงจันทร์ บริเวณซึ่งมีหลุมอุกาบาตมากและอายุมาก เรียกว่า highlands และ บริเวณที่ค่อนข้างราบเรียบและมีอายุน้อย เรียกว่า maria บริเวณที่เรียกว่า maria ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 16% ของพื้นผิวดวงจันทร์ อยู่ด้านดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลก เป็นบริเวณที่เคยมีอุกาบาตขนาดใหญ่มาตกและต่อมาถูกปิดทับด้วยลาวา พื้นผิวส่วนใหญ่ของดวงจันทร์เป็นพวก regolith ที่เกิดจากการตกของอุกาบาตพื้นผิวของดวงจันทร์ในอดีตที่ผ่านมาถูกชนด้วยอุกาบาตเป็นจำนวนมาก ทำให้หินที่เป็นเปลือกมีการผสม หลอมและตกจมลงสู่ภายในดวงจันทร์ อุบาบาตที่วิ่งชนดวงจันทร์ได้พาเอาหินแปลกปลอมมากระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นผิว การชนของอุกาบาตยังทำให้หินที่อยู่ในระดับลึก โผล่ขึ้นมาบนพื้นผิวและเศษหินเหล่านี้กระจายไกลออกไปจากแหล่งกำเนิด เปลือกที่บางและมีรอยแตกเป็นช่องทางให้ลาวาที่อยู่ภายในดวงจันทร์แทรกตัวขึ้นมาบนพื้นผิว การที่ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศและน้ำ จึงไม่มีกระบวนการผุพัลทางเคมีกับส่วนประกอบทั้งหลายที่อยู่บนพื้นผิว ดังนั้นหินซึ่งมีอายุกว่า 4 พันล้านปีจึงยังพบอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ทำให้เข้าใจถึงประวัติในช่วงแรกของระบบสุริยะ ซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานเหล่านี้ได้จากบนพื้นโลก กระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในปัจุบันมีเฉพาะการชนของอุกาบาตขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิด regolith เท่านั้น
ตัวอย่างหินและดินที่ถูกนำกลับมายังพื้นโลกมีน้ำหนักรวม 382 กิโลกรัม ซึ่ง 20 ปีหลังจากนั้น หินเหล่านี้ยังได้รับการศึกษาอยู่อย่างต่อเนื่อง หินส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 4.6 ถึง 3 พันล้านปี ในขณะที่ตัวอย่างหินที่เก็บได้จากพื้นโลก มีอายุไม่เกิน 3 พันล้านปี ดังนั้นหินที่ได้จากดวงจันทร์จึงเป็นหลักฐานที่สำคัญในการศึกษาการกำเนิดของระบบสุริยะ ซึ่งไม่สามารถหาหลักฐานได้จาดหินที่มีอยู่บนพื้นโลก
ก่อนที่จะได้มีการศึกษาตัวอย่างหินที่ได้จากดวงจันทร์ เคยมีทฤษฏีต่างๆที่เชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดของ โลก และ ดวงจันทร์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางคือ
1. โลกและดวงจันทร์เกิดขึ้นในเวลาพร้อมกันจาก Solar Nebular
2. ดวงจันทร์แยกตัวออกจากโลก
3. ดวงจันทร์เกิดเป็นดวงดาวและถูกโลกดึงดูดเข้ามาเป็นดาวบริวาร
แต่ทั้ง 3 แนวทางก็ยังไม่สามารถอธิบายปัญหาต่างได้ชัดเจน ในระยะต่อมาหลังจากที่ได้มีการศึกษาตัวอย่างหินที่นำกลับมายังพื้นโลก ทำให้เชื่อว่าดวงจันทร์อาจหลุดออกมาจากโลกอันเนื่องจากการชนของอุกาบาตขนาดใหญ่
บนดวงจันทร์ไม่พบสนามแม่เหล็ก แต่หินบางส่วนที่อยู่บนผิวดินแสดงให้เห็นถึงอำนาจแม่เหล็กคงค้างที่เป็นหลักฐานบ่งบอกว่า ในอดีตดวงจันทร์ก็เคยมีสนามแม่เหล็ก
เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีทั้งสนามแม่เหล็กและบรรยากาศ ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์จึงได้รับผลกระทบจากลมสุริยะ ไฮโดรเจนไอออนซึ่งมากับสมสุริยะ จะไปสะสมตัวอยู่ใน regolith ที่อยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์ ซึ่งตัวอย่างหินที่นำกลับมาจากดวงจันทร์มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษา ลมสุริยะ

ดาวตกและอุกกาบาต


ดาวตกและอุกกาบาต (Meteor and Meteoroids)




      ดาวตก หรือผีพุ่งใต้ (Meteor) เป็นเพียงอุกกาบาต (Meteoroids) เศษวัตถุเล็กๆ หรือฝุ่นที่เกิดตามทางโคจรดาวหาง เมื่อเศษวัตถุเหล่านี้ตกผ่านชั้นบรรยากาศโลก ก็จะถูกเสียดสีและเผาไหม้เกิดเป็นแสงให้เห็นในยามค่ำคืน ในบางครั้งวัตถุขนาดใหญ่สามารถลุกไหม้ผ่านชั้นบรรยากาศ และตกถึงพื้นโลกได้ เราเรียกว่า "ก้อนอุกกาบาต" (Meteorite)
      
การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก จะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อน และเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า “ฝนดาวตก” (
Meteor shower)


วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Uranus



ดาวยูเรนัส (Uranus)

     ดาวยูเรนัสหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 2 ดวง

Saturn



ดาวเสาร์ (Saturn)
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและของ เหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็กๆ หลายชนิดที่หมุนรอบดาวเสาร์มีวงแหวนจำนวน 3 ชั้น ดาวเสาร์มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง และมีดวงจันทร์ดวงหนึ่งชื่อ Titan ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล

Jupiter


ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

      ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 16 ดวง

Mars



ดาวอังคาร (Mars)

           ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวง อาทิตย์เป็นวงรี พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง

Earth



โลก (Earth)


โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนทีสลับซับซ้อนมาก

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Venus


      ดาวศุกร์สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า"ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

Mercury

  

     ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและ ช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกกินเวลา ประมาณ 58 - 59 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน

Sun


     ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาล อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 93 ล้านไมล์ และมีขนาดใหญ่กว่าโลกมากกว่า 1 ล้านเท่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่าโลก 100 เท่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเอง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลก อุณหภูมิของดวงอาทิตย์อยู่ระหว่าง 5,500 - 6,100 องศาเซลเซียส พลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งหมดเกิดจากก๊าซไฮโดรเจน โดยพลังงานดังกล่าวเกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ภายใต้สภาพความกดดันสูงของดวงอาทิตย์ ทำให้อะตอมของไฮโดรเจนซึ่งมีอยู่มากบนดวงอาทิตย์ทำปฏิกริยาเปลี่ยนเป็นฮีเลียม ซึ่งจะส่งผ่านพลังงานดังกล่าวมาถึงโลกได้เพียง 1 ใน 200 ล้านของพลังงานทั้งหมด นอกจากนั้นบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ยังเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพลังงานความร้อนบนดวงอาทิตย์อันเนื่องมาจากจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการแปรผันของพายุแม่เหล็ก และพลังงานความร้อน ทำให้อนุภาคโปรตรอนและอิเล็กตรอนหลุดจากพื้นผิวดวงอาทิตย์สู่ห้วงอวกาศ เรียกว่า ลมสุริยะ (Solar Wind) และแสงเหนือและใต้ (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

ย่านต่างๆ ในระบบสุริยะ




     โดยปกติแล้วระบบสุริยะจะถูกแบ่งออกเป็นย่านต่างๆ โดยนับจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่ด้านนอก แบ่งได้เป็น 2 ย่าน คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน จำนวน 4 ดวง และดาวเคราะห์ชั้นนอก จำนวน 4 ดวง

ทฤษฎีการกำเนิดของระบบสุริยะ



    หลักฐานที่สำคัญของการกำเนิดของระบบสุริยะก็คือ การเรียงตัว และการเคลื่อนที่อย่างเป็นระบบระเบียบของดาว เคราะห์ ดวงจันทร์บริวาร ของดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์น้อย ที่แสดงให้เห็นว่าเทหวัตถุ ทั้งมวลบนฟ้า นั้นเป็นของ ระบบสุริยะ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่เทหวัตถุท้องฟ้า หลายพันดวง จะมีระบบ โดยบังเอิญโดยมิได้มีจุดกำเนิด ร่วมกัน Piere Simon Laplace ได้เสนอทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ ไว้เมื่อปี ค.ศ.1796 กล่าวว่า ในระบบสุริยะจะ มีมวลของก๊าซรูปร่างเป็นจานแบนๆ ขนาดมหึมาหมุนรอบ ตัวเองอยู่ ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้นจะเกิดการหดตัวลง เพราะแรงดึงดูดของมวลก๊าซ ซึ่งจะทำให้ อัตราการหมุนรอบตัวเองนั้น จะเกิดการหดตัวลงเพราะแรงดึงดูดของก๊าซ ซึ่งจะทำให้อัตราการ หมุนรอบตังเอง มีความเร็วสูงขึ้นเพื่อรักษาโมเมนตัมเชิงมุม (Angular Momentum) ในที่สุด เมื่อความเร็ว มีอัตราสูงขึ้น จนกระทั่งแรงหนีศูนย์กลางที่ขอบของกลุ่มก๊าซมีมากกว่าแรงดึงดูด ก็จะทำให้เกิดมีวงแหวน ของกลุ่มก๊าซแยก ตัวออกไปจากศุนย์กลางของกลุ่มก๊าซเดิม และเมื่อเกิดการหดตัวอีกก็จะมีวงแหวนของกลุ่มก๊าซเพิ่มขึ้น ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ วงแหวนที่แยกตัวไปจากศูนย์กลางของวงแหวนแต่ละวงจะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงบริเวณ ที่มีความ หนาแน่นมากที่สุดของวง จะคอยดึงวัตถุทั้งหมดในวงแหวน มารวมกันแล้วกลั่นตัว เป็นดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ของดาว ดาวเคราะห์จะเกิดขึ้นจากการหดตัวของดาวเคราะห์

วัตถุในระบบสุริยะ



     ดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน

     ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น

solar system

 

     คำว่า ระบบสุริยะจักรวาล จะใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่าจักรวาล ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559