Translate

123456

สวัสดีครับกระผม นายไวยวิทย์ ปลูกชาลี 59010512076 ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่บล็อคของผมนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษานะครับ ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ย่านต่างๆ ในระบบสุริยะ




     โดยปกติแล้วระบบสุริยะจะถูกแบ่งออกเป็นย่านต่างๆ โดยนับจากดวงอาทิตย์ออกมาสู่ด้านนอก แบ่งได้เป็น 2 ย่าน คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน จำนวน 4 ดวง และดาวเคราะห์ชั้นนอก จำนวน 4 ดวง
  • ดาวเคราะห์ชั้นใน หรือดาวเคราะห์ใกล้โลก ในระบบสุริยะ มีจำนวน 4 ดวง ประกอบไปด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร โดยมากดาวเคราะห์ชั้นในจะมีส่วนประกอบเป็นหินที่มีความหนาแน่นสูง มีดวงจันทร์เป็นบริวารที่มีจำนวนน้อย หรืออาจไม่มีเลย ไม่มีระบบวงแหวนรอบตัวเอง อีกทั้งสสารที่เป็นองค์ประกอบมักจะเป็นแร่ธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูง อาทิ ซิลิเกตที่ชั้นเปลือกและผิว หรือมีโลหะ เหล็ก และนิเกิลที่เป็นแกนกลางของดาวจำนวนสามในสี่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะกลุ่มนี้ ได้แก่ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ที่มีชั้นบรรยากาศที่เห็นได้ชัด บริเวณพื้นผิวมีร่องรอยของหลุมบ่อที่เกิดจากการปะทะด้วยชิ้นส่วนจากอวกาศ รวมถึงยังมีความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่พื้นผิวด้วย อาทิ การแยกตัวของร่องหุบเขาและภูเขาไฟ
  • ดาวเคราะห์ชั้นนอก หรือดาวแก๊สยักษ์ ในระบบสุริยะ มีจำนวน 4 ดวง ซึ่งในบางครั้งอาจเรียกว่า ดาวเคราะห์โจเวียน ประกอบไปด้วย ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน พบว่าดาวเคราะห์เหล่านี้มีมวลรวมกันกว่า 99% ของมวลสารทั้งหมดที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ส่วนดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มีองค์ประกอบที่เต็มไปด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง ซึ่งนักดาราศาสตร์ส่วนหนึ่งเห็นว่าดาวทั้งสองดวงหลังนี้ควรจัดเป็นประเภทเฉพาะของตัวมันเอง คือ ดาวน้ำแข็งยักษ์ และดาวแก๊สยักษ์ที่ีมีวงแหวนอยู่รอบตัว หากเรามองดาวเคราะห์เหล่านี้จากโลกก็จะเห็นวงแหวนของดาวเสาร์ได้ชัดเจนเพียงดาวเดียวเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น