Translate

123456

สวัสดีครับกระผม นายไวยวิทย์ ปลูกชาลี 59010512076 ขอต้อนรับทุกคนเข้าสู่บล็อคของผมนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษานะครับ ขอบคุณครับ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Uranus



ดาวยูเรนัส (Uranus)

     ดาวยูเรนัสหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 2 ดวง

ประวัติการค้นพบ

     ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ดวงแรกที่มนุษย์ค้นพบผ่านกล้องโทรทรรศน์บนโลก ซึ่ง วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) นักดนตรี และนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวเยอรมัน ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในประเทศอังกฤษ ผู้ค้นพบใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ เซนติเมตร ส่องพบดาวยูเรนัส โดยบังเอิญ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๔ เห็นเป็นจุดริบหรี่เคลื่อนที่อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ เนื่องจากดาวยูเรนัสอยู่ไกลมาก แม้จนปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับดาวยูเรนัสน้อยมาก เพราะมองจากกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ เห็นเป็นเพียงจุดเล็กๆ สีน้ำเงิน ไม่เห็นรายละเอียดบนพื้นผิวดวง

ลักษณะสำคัญของดาวยูเรนัส

     ดาวยูเรนัสมีลักษณะแปลกกว่าดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ ในขณะที่ดาวเคราะห์อื่น หันแกนเอียงออกจากแนวตั้งฉากกับระนาบสุริยวิถีเพียงเล็กน้อย แต่ดาวยูเรนัสหันแกนเหนือเบนออกไปถึง ๙๘ องศา ทำให้ขั้วเหนือของดาวยูเรนัส กดต่ำลงไปอยู่ใต้ระนาบสุริยวิถีถึง ๘ องศา เมื่อมองจากโลกจึงดูคล้ายกับว่า ดาวยูเรนัสหันด้านข้าง ตะแคงโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โดยหมุนรอบตัวเอง สวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ใน ๑ รอบ ที่ดาวยูเรนัสเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์นาน ๘๔ ปี จึงมีบางช่วง ที่ดาวยูเรนัสหันขั้วหนึ่งเข้าหาดวงอาทิตย์เป็นเวลากลางวันตลอดทั้งวัน ยาวนานถึง ๒๑ ปี ขณะที่ขั้วตรงข้ามเป็นเวลากลางคืนตลอดช่วงเวลาเดียวกัน และมีบางช่วง ที่ดาวยูเรนัสหันด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ช่วงนั้น ขั้วทั้งสองต่างรับแสงอาทิตย์พอๆ กันยาวนานถึง ๔๒ ปี จึงน่าสงสัยว่า การเอียงแกนลักษณะนี้ จะมีผลต่อฤดูกาลบนดาวยูเรนัสอย่างไร


 
ภาพถ่ายการค้นพบบริวารดวงเล็กของดาวยูเรนัส เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ภาพอนุเคราะห์โดย สกอต เอส. เชบเพิร์ด และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา)



     ดาวยูเรนัสมีโครงสร้างที่คล้ายกับดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ คือ มีใจกลางเป็นเหล็กและหินแข็งขนาดเล็ก ภายใต้อุณหภูมิ และความดัน สูงมาก บรรยากาศหนาทึบที่ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นเป็นฮีเลียม มีเทน แอเซทิลีน และไฮโดรคาร์บอนอีกเล็กน้อย เนื่องจาก ก๊าซมีเทนในบรรยากาศชั้นบนดูดกลืนแสงสีแดงไว้ และสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา ทำให้เรามองเห็นดาวยูเรนัสมีสีน้ำเงิน


ไททาเนีย (Tatania) (ยานอวกาศวอยเอเจอร์ ๒ ถ่ายภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ภาพอนุเคราะห์โดย NASA/JPL)



     ยานวอยเอเจอร์ ๒ เดินทางไปสำรวจดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ขณะนั้น ดาวยูเรนัสกำลังหันขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วใต้จึงได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าเขตศูนย์สูตร จนเมื่อดาวยูเรนัสเริ่มหันด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายภาพดาวยูเรนัสใน พ.ศ. ๒๕๔๐ เห็นการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศ และการเคลื่อนตัว ของแถบเมฆ ชัดเจนขึ้น แสดงว่า พลังงานจากดวงอาทิตย์มีผลต่อสภาวะอากาศใน ๑ รอบวัน และฤดูกาลที่เปลี่ยนไปของดาวยูเรนัส


 
โอบีรอน (Oberon) (ยานอวกาศวอยเอเจอร์ ๒ ถ่ายภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ภาพอนุเคราะห์โดย NASA/JPL)



ดาวบริวารของดาวยูเรนัส

     นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวบริวารดวงแรกของดาวยูเรนัสใน พ.ศ. ๒๓๓๐ และใช้เวลานานกว่า ๑๖๐ ปี จึงพบดาวบริวารดวงที่ ๕ ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ต่อมา เมื่อยานวอยเอเจอร์ ๒ สำรวจระยะใกล้ และถ่ายภาพ จึงค้นพบดาวบริวารดวงเล็กสีมืดคล้ำ โคจรอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสเพิ่มอีก ๑๑ ดวง


 
มิแรนดา (Miranda) (ยานอวกาศวอยเอเจอร์ ๒ ถ่ายภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ภาพอนุเคราะห์โดย NASA/JPL)



     ต่อมามีการค้นพบดาวบริวารของดาวยูเรนัสเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ค้นพบแล้ว ๒๗ ดวง ดาวบริวารมากกว่าครึ่งหนึ่ง มีขนาดเล็ก โคจรอยู่ไกลจากดวงแม่มาก และวงโคจรรีมาก อีกทั้งโคจรไม่เป็นระเบียบ ลักษณะของดาวบริวารเล็กๆ เหล่านี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นซากเหลือ จากการปะทะกันของเศษดาวเคราะห์ จำพวกดาวหางกับวัตถุขนาดใหญ่จากรอบนอก ของระบบสุริยะ และถูกดาวยูเรนัสดึงดูดเป็นบริวารในภายหลัง


 
อัมเบรียล (Umbriel) (ยานอวกาศวอยเอเจอร์ ๒ ถ่ายภาพ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ภาพอนุเคราะห์โดย NASA/JPL)



วงแหวนของดาวยูเรนัส

     นักดาราศาสตร์ใช้เทคนิคการวัดความสว่างของดาวฤกษ์ลดลง ขณะเมื่อดาวยูเรนัสเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน ๙ ชั้น ต่อมายานวอยเอเจอร์ ๒ ยืนยันด้วยภาพถ่าย แสดงวงแหวนบางๆ สีมืดคล้ำประกอบด้วย ก้อนน้ำแข็งขนาดเล็กใหญ่ต่างๆ กัน การพบว่าดาวยูเรนัสมีวงแหวน ทำให้เราเข้าใจได้ว่า วงแหวนเป็นลักษณะธรรมดาของดาวเคราะห์ ไม่ใช่เฉพาะแต่ดาวเสาร์เท่านั้น


 
วงแหวนดาวยูเรนัส ถ่ายจากยานอวกาศวอยเอเจอร์ ๒ ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ กล้องถ่ายภาพเปิดช่องรับแสงเป็นเวลานาน ทำให้ดาวฤกษ์ ปรากฏเป็นเส้นขีดยาวเล็กๆ (ภาพอนุเคราะห์โดย NASA/JPL)



     เมื่อนับถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการค้นพบ วงแหวนวงในของดาวยูเรนัสรวม ๑๑ ชั้น และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยังค้นพบวงแหวนจางๆ อยู่วงนอกอีก ๒ ชั้น วงแหวนมีลักษณะบาง แคบ ไม่ค่อยกลมนัก และมีสีมืดคล้ำ บางวงเป็นเพียงส่วนโค้ง ที่ไม่เต็มวงสมบูรณ์ และวงแหวนบางวงมีดวงจันทร์ดวงเล็กเคลื่อนที่ขนาบข้างอยู่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น